ผู้วิจัย นางจริยกร ประกอบชัยชนะ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการ สอนโฟนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางด้านการอ่านให้ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโฟนิกส์ในการ พัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่อง ทางด้านการอ่าน โดย (1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางด้านการอ่าน ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วย รูปแบบการสอนโฟนิกส์ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางด้านการอ่าน หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่อง ทางด้านการอ่าน ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโฟนิกส์ (4) ศึกษาความพึงพอใจของ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีต่อรูปแบบการสอนโฟนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความ บกพร่องทางด้านการอ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตูลวิทยา ที่มี ความบกพร่องทางด้านการอ่าน ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ตรงตาม หลักเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายของผู้วิจัย แบบแผนของการวิจัยใช้แบบ The One Group Pretest– posttest Design ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางด้านการอ่าน และ 2) แบบประเมินความพึง พอใจในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางด้านการ อ่าน ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent t-test and one sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) ความสำคัญและความ เป็นมา 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหา 5) กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนการ สอน 7ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การรับรู้หน่วยเสียง (Recognizing Phonemes) ขั้นที่ 2 การทำความเข้าใจ ความสัมพันธ์ของตัวอักษรกับหน่วยเสียง (Understanding Graphemes and Phonemes Relationships) ขั้นที่ 3 การผสมหน่วยเสียง (Blending Phonemes) ขั้นที่ 4 การทำความเข้าใจ ความหมายของคำ (Understanding Meaning of Word) ขั้นที่ 5 การแยกหน่วยเสียงในคำ (Segmenting Phonemes in Word) ขั้นที่ 6 การอ่านและสะกดคำที่ไม่สามารถสะกดได้ตาม หลักเกณฑ์ของโฟนิกส์สังเคราะห์ (Read and Spell Tricky Words and Sight Words) ขั้นที่ 7 การอ่านประโยค (Read Sentences) และ 6)การวัดและประเมินผล และรูปแบบการสอนโฟนิกส์ ที่พัฒนาขึ้นดังกล่าวมีประสิทธิภาพ 90.37/91.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 85/85 ที่กำหนดไว้ 2. ผลการใช้รูปแบบการสอนโฟนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่มีความบกพร่องทางด้านการอ่าน ปรากฏผลดังต่อไปนี้ 2.1 ผลสมั ฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบ การสอนโฟ นิกส์ที่ พัฒ นาขึ้น หลัง เรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่าง มี นัยสำ คัญทาง สถิติ ที่ระดับ .05 2.2 ผลสมั ฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบ การสอนโฟนิกส์ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนโฟนิกส์ ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.54, S.D. = 0.62) 3. ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการ สอนโฟนิกส์ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar = 4.66, S.D. = 0.37)